E-Books

ค้นหา

สถิติผู้เข้าชมเว็บไซต์

เนื้อหาที่เปิดอ่าน
5431307

whosonline

มี 20 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์

เรื่องของสมาธิ

                 ความหมายของสมาธิ

          สมาธิ  แปลว่า  ความตั้งมั่นแห่งจิต  หมายถึง  ภาวะที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง  หรือการที่จิตแนบแน่นอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งนาน ๆ การฝึกสมาธิก็คือกรรมวิธีในการฝึกฝนจิตให้แน่วแน่  ฝึกรวมพลังจิต  และฝึกจัดระเบียบความคิดของตน  เพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน  เช่น  การศึกษาเล่าเรียน  การทำงานให้มีประสิทธิภาพ  การพัฒนาบุคลิกภาพ  และอย่างสูงก็เพื่อใช้เป็นฐานของปัญญาการรู้สิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง  จนสามารถลดละหรือเลิกกิเลสได้ตามลำดับ อันเป็นเป้าหมายทางพระพุทธศาสนา

สมาธิ  เป็นภาวะกลาง ๆ ไม่ดีไม่ชั่วในตัวเอง  สุดแต่จะนำไปใช้ในทางใด  ถ้าใช้ในทางผิดเช่น   เพื่อเบียดเบียนตนเองและผู้อื่นก็เป็น    มิจฉาสมาธิ    (สมาธิผิด)     ถ้าใช้ในทางถูก  เป็น  

สัมมาสมาธิ (สมาธิถูก) ซึ่งเป็นสมาธิที่พึ่งประสงค์ในที่นี้ สมาธิอย่างไหนเป็นมิจฉ สมาธิ  อย่างไหนเป็นสัมมาสมาธิ วินิจฉัยได้จากหลักเกณฑ์ดังนี้

            ๑.๑  ดูจากเป้าหมายที่ใช้  ถ้าใช้เพื่อเบียดเบียนผู้อื่น  เช่น  ตั้งจิตแน่วแน่นั่งตกปลาหรือเล็งปืนด้วยจิตเป็นสมาธิเพื่อยิงสัตว์หรือศัตรูไม่ให้ผิดพลาด  ตั้งใจแน่วแน่ขณะโจรกรรมกล่าวเท็จด้วยจิตที่เป็นสมาธิ  หรือเอาใจจดจ่ออย่างแน่นแฟ้นกับแก้วสุราที่ถือดื่มอยู่  อย่างนี้เป็นมิจฉาสมาธิ  ถ้าใช้เพื่อเป้าหมายตรงข้ามจากที่กล่าวนี้เป็นสัมมาสมาธิ

            ๑.๒  ดูจากสภาวะของสมาธิ  ถ้าเป็นความแน่วแน่แห่งจิตที่เป็นเหตุให้กิเลสในจิตเพิ่มขึ้น

เป็นมิจฉาสมาธิ  แต่ถ้าเป็นความแน่วแน่แห่งจิตที่เป็นเหตุให้กิเลสในจิตหยุดยั้งหรือลดลง เป็นสัมมาสมาธิ

ประโยชน์ของการทำสมาธิ (1)

 

          สมาธิ ไม่เพียงแต่เป็นประโยชน์เฉพาะผู้ที่ฝึกเป็นประจำเท่านั้น ยังส่งผลทางบวกไปยังบุคคลรอบตัว สังคม ชุมชน ประเทศชาติ ตลอดจนเป็นการสืบสาน ต่ออายุพระพุทธศาสนาอีกด้วย สมาธิ จึงเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่าการผ่อนคลายในเบื้องต้น แต่ยังส่งผลให้ผู้ปฏิบัติได้เข้าถึงความสุขอัน

       1. ผลต่อตนเอง
            1.1 ด้านสุขภาพจิต 
                – ส่งเสริมให้คุณภาพของใจดีขึ้น คือ ทำให้จิตใจผ่องใส สะอาด บริสุทธิ์ สงบ เยือกเย็น ปลอดปร่ง โล่ง เบา สบาย มีความจำ และสติปัญญาดีขึ้น
                – ส่งเสริมสมรรถภาพทางใจ ทำให้คิดอะไรได้รวดเร็ว ถูกต้อง และเลือกคิดแต่ในสิ่งที่ดีเท่านั้น
           1.2 ด้านพัฒนาบุคลิกภาพ
               – จะเป็นผู้มีบุคลิกภาพดี กระฉับกระเฉง กระปรี้กระเปร่า มีความองอาจสง่าผ่าเผย ผิวพรรณผ่องใส
               – มีความมั่นคงทางอารมณ์ หนักแน่น เยือกเย็น และเชื่อมั่นในตนเอง
               – มีมนุษยสัมพันธ์ดี วางตัวได้เหมาะสมกับกาลเทศะ เป็นผู้มีเสน่ห์ เพราะไม่มักโกรธ มีความเมตตากรุณาต่อบุคคลทั่วไป
           1.3 ด้านชีวิตประจำวัน
              – ช่วยให้คลายเครียด เป็นเครื่องเสริมประสิทธิภาพในการทำงาน และการศึกษาเล่าเรียน
              – ช่วยเสริมให้มีสุขภาพแข็งแรง เพราะร่างกายกับจิตใจ ย่อมมีอิทธิพลต่อกัน ถ้าจิตใจเข้มแข็ง ย่อมเป็นภูมิต้านทานโรคไปในตัว
          1.4 ด้านศีลธรรมจรรยา
             – ย่อมเป็นผู้มีสัมมาทิฐิ สามารถคุ้มครองตนให้พ้นจากความชั่วทั้งหลายได้ เป็นผู้ที่มีความประพฤติดี เนื่องจากจิตใจดี ทำให้ร่างกายประพฤติทางกายและวาจาดีตามไปด้วย
             – ย่อมเป็นผู้ที่มีความมักน้อย สันโดษ รักสงบ และมีขันติเป็นเลิศ
            – ย่อมเป็นผู้มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เห็นประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน ย่อมเป็นผู้มีสัมมาคารวะและมีความอ่อนน้อมถ่อมตน

     2. ผลต่อครอบครัว
          2.1 ทำให้ครอบครัวมีความสงบสุขเพราะสมาชิกในครอบครัวเห็นประโยชน์ของการประพฤติธรรม ทุกคนตั้งมั่นอยู่ในศีล ปกครองกันด้วยธรรม เด็กเคารพผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่เมตตาเด็ก ทุกคนมีความรักใคร่สามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
         2.2 ทำให้ครอบครัวมีความเจริญก้าวหน้าเพราะสมาชิกต่างก็ทำหน้าที่ของตนโดยไม่บกพร่อง เป็นผู้ที่มีใจคอหนักแน่น เมื่อมีปัญหาครอบครัวหรือมีอุปสรรคอันใด ย่อมร่วมใจกันแก้ไขปัญหานั้นให้ลุล่วงไปได้

    3. ผลต่อสังคมและประเทศชาติ
         3.1 ทำให้สังคมสงบสุขปราศจากปัญหาอาชญากรรม และปัญหาสังคมอื่นๆ เพราะปัญหาทั้งหลายที่เกิดขึ้นในสังคม ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการฆ่า การข่มขืน โจรผู้ร้าย การทุจริตคอรัปชั่น ล้วนเกิดขึ้นมาจากคนที่ขาดคุณธรรม เป็นผู้ที่มีจิตใจอ่อนแอหวั่นไหวต่ออำนาจสิ่งยั่วยวนหรือกิเลสได้ง่าย ผู้ที่ฝึกสมาธิย่อมมีจิตใจเข้มแข็ง มีคุณธรรมในใจสูง ถ้าแต่ละคนในสังคมต่างฝึกฝนอบรมใจของตนให้หนักแน่น มั่นคง ปัญหาเหล่านี้ก็จะไม่เกิดขึ้น ส่งผลให้สังคมสงบสุขได้
        3.2 ทำให้เกิดความมีระเบียบวินัยและเกิดความประหยัด ผู้ที่ฝึกใจให้ดีงามด้วยการทำสมาธิอยู่เสมอ ย่อมเป็นผู้รักความมีระเบียบวินัย รักความสะอาด มีความเคารพกฎหมายบ้านเมือง ดังนั้นบ้านเมืองเราก็จะสะอาดน่าอยู่ ไม่มีคนมักง่ายทิ้งขยะบนพื้นถนน จะข้ามถนน ก็เฉพาะตรงทางข้าม เป็นต้น เป็นเหตุให้ประเทศชาติไม่ต้องสิ้นเปลืองงบประมาณ เวลา และกำลังเจ้าหน้าที่ ที่จะไปใช้สำหรับแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากความไม่มีระเบียบวินัยของประชาชน
       3.3 ทำให้สังคมเจริญก้าวหน้าเมื่อสมาชิกในสังคม มีสุขภาพจิตดี รักความเจริญก้าวหน้า มีประสิทธิภาพในการทนสูง ย่อมส่งผลให้สังคมเจริญก้าวหน้าตามไปด้วย และเมื่อมีกิจกรรมส่วนรวม สมาชิกในสังคมก็ย่อมพร้อมที่จะสละความสุขส่วนตน ให้ความร่วมมือกับส่วนรวมอย่างเต็มที่ และถ้ามีผู้ไม่ประสงค์ดีต่อสังคม จะมายุแหย่ให้เกิดความแตกแยกก็จะไม่เป็นผลสำเร็จ เพราะสมาชิกในสังคมเป็นผู้มีจิตใจหนักแน่น มีเหตุผลและเป็นผู้รักสงบ

    4. ผลต่อศาสนา
       4.1 ทำให้เข้าใจพระพุทธศาสนาได้อย่างถูกต้อง และรู้ซึ้งถึงคุณค่าของพระพุทธศาสนา รวมทั้งรู้เห็นด้วยตัวเองว่ามีการฝึกสมาธิไม่ใช่เรื่องเหลวไหล หากแต่เป็นวิธีเดียวที่จะทำให้พ้นทุกข์เข้าสู่นิพพานได้ 
      4.2 ทำให้เกิดศรัทธาตั้งมั่นในพระรัตนตรัยพร้อมที่จะเป็นทนายแก้ต่างให้กับพระศาสนา อันเป็นกำลังสำคัญในการเผยแพร่การปฏิบัติธรรม ที่ถูกต้องให้แพร่หลายไปอย่างกว้างขวาง
      4.3 เป็นการสืบอายุพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองตลอดไป เพราะตราบใดที่พุทธศาสนิกชนยังสนใจปฏิบัติธรรมเจริญภาวนาอยู่ พระพุทธศาสนาก็จะเจริญรุ่งเรืองอยู่ตราบนั้น 
      4.4 จะเป็นกำลังส่งเสริมทะนุบำรุงศาสนาโดยเมื่อเข้าใจซาบซื้งถึงประโยชน์ของการปฏิบัติธรรมด้วยตนเองแล้ว ย่อมจะชักชวนผู้อื่นให้ทำทานรักษาศีล เจริญภาวนาตามไปด้วย และเมื่อใดที่ทุกคนในสังคมตั้งใจปฏิบัติธรรมทำทาน รักษาศีล และเจริญภาวนา เมื่อนั้นย่อมเป็นที่หวังได้ว่าเป็นสันติสุขที่แท้จริงก็จะบังเกิดขึ้นอย่างแน่นอน

ประโยชน์ของการทำ สมาธิ (2)

๑.  ทำให้หลับสบายคลายกังวล

๒.  กำจัดโรคภัยไข้เจ็บ

๓.  ทำให้สมองปัญญาดี

๔.  ทำให้มีความรอบคอบ

๕.  ทำให้ระงับความร้ายกาจ

๖.   บรรเทาความเครียด

๗.  มีความสุขพิเศษ

๘.  ทำให้จิตใจอ่อนโยน

๙.  กลับใจได้

๑๐.  เวลาสิ้นลม สิ้นใจ  ( ตาย )พบทางดี

๑๑.  เจริญวาสนาบารมี

๑๒.  เป็นกุศล

จาก www.dek-d.com

 

คุณประโยชน์ของการทำสมาธิ (3)

        1. ทางร่างกาย 
            1.1 อัตราการหายใจลดลง คาร์บอนไดออกไซด์น้อยลง เป็นผลดีต่อปอด 
            1.2 อัตราเต้นของหัวใจน้อยลงเป็นผลดีต่อหัวใจ 
            1.3 ปริมาณ กรดแลคเตท ในเลือด ซึ่งเกี่ยวกับความคิด ความวิตกกังวล

                  จะลดลงเป็นลำดับทำให้คิดรอบคอบมากขึ้นก่อนที่จะทำอะไรลงไป 

            1.4 เลือดจะมีความเป็นกรดสูงขึ้นเล็กน้อย แสดงถึงสุขภาพที่ดี 
            1.5 คลื่นสมองของผู้นั่งสมาธิ จะมีความราบเรียบ และทิ้งช่วงห่างมากกว่าผู้ที่นอนหลับปกติ 
            1.6 ความต้านทานของผิวหนังสูงขึ้นทันทีที่เริ่มมีสมาธิ 
            1.7 อายุยืน

      2. ทางจิตใจ 
            2.1 ทำให้ลดทิฐิ ต่าง ๆ ที่มีอยู่ในตนเอง 
            2.2 ทำให้จิตใจได้ผ่อนคลายความตึงเครียด ผ่องใส เกิดความสงบเยือกเย็น 
            2.3 ทำให้เกิดประสิทธิภาพในการศึกษาเล่าเรียนและในการทำงานต่าง ๆ 
            2.4 ทำให้เป็นผู้มีความเมตตากรุณา และเห็นอกเห็นใจผู้อื่น 
            2.5 เป็นผู้ที่มีสติ ไม่หลงลืม มีความรู้สึกตัวอยู่เสมอว่า กำลังทำอะไรอยู่ 
           2.6 เป็นผู้มีศีล คือทำดี ไม่ทำชั่ว 
           2.7 ทำให้เป็นผู้ที่มีจิตใจมั่นคง 
           2.8 ทำให้เป็นผู้มีปัญญา คือ รอบรู้ในสิ่งต่าง ๆ ทั้งที่เป็นประโยชน์และโทษภัยต่าง ๆ 
           2.9 เป็นกุศล นำไปสู่สุคติ ไม่ตกไปสู่อบาย

         จาก www.dhammajak.net

 

คุณประโยชน์ของการทำสมาธิ (4)

         การนั่งสมาธินั้น มีมาตั้งสมัยพุทธกาล หลายคนคงคิดว่านั่งสมาธิไปก็คงไม่ได้อะไรขึ้นมา หรือบ้างว่าไม่มีเวลาทำ แต่พวกเราชาว TU Sports Science อยากให้ทุกคนๆ ได้นั่งสมาธิกันบ้างเพื่อเป็นประโยชน์ต่อทุกๆคน วันนี้เราเลยมีประโยชน์ดีๆ จากการนั่งสมาธิซึ่งผ่านการวิจัยทางวิทยาศาสตร์จากการตีพิมพ์ในเอาการทางวิชาการ เช่น The American Journal of Philosophy, International Journal of Neuroscience, Phychosomatic medicine, American Pshchologist, India Journal of medical Research มากล่าวให้ฟังกันดังนี้

       ๑. สมาธิที่มีผลต่อระบบการหายใจ
            ค.ศ. ๑๙๖๑ ศาสตราจารย์บี.เค.อนันต์ แห่งสถาบันวิทยาศาสตร์การแพทย์ออล อินเดีย ได้ทำการทอลองกับโยคี ชื่อ ศรี รามนันท์ โดยได้ให้โยคีเข้าไปนั่งทำสมาธิอยู่ในหีบขนาดกว้าง ๔ ฟุต ยาว ๖ ฟุต และลึก ๔ ปิดทึบอากาศเข้าออกไม่ได้Ý ครั้งหนึ่งนาน ๘ ชั่วโมง และอีกครั้ง ๑๐ ชั่วโมง โดยไม่ปรากฏอันตรายอย่างใดแก่โยคี ผลการวิจัยพบว่า
       1. โยคีใช้ออกซิเจนน้อยกว่าธรรมดา ๓๓ ñ ๕๐ เปอร์เซ็นต์
       2. อัตราชีพจรลดลงจาก ๘๕ ครั้งต่อนาที คงเหลือเพียง ๖๐ ñ ๗๐ ครั้งต่อนาที
       3. การหายใจมีความเร็วเกือบคงที่ระหว่างการทำสมาธิ
       4. คลื่นสมองมีลักษณะคล้ายกับเวลานอน หลับๆ ตื่นๆ

     ๒. สมาธิที่มีผลต่อการเผาผลาญในร่างกาย
         นักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่น ๒ คณะ ทำการศึกษาพุทธศาสนิกชนในนิกายเซ็น คณะโชจิ ในขณะทำสมาธิ คณะของนักวิทยาศาสตร์ ชื่อซูกิ ศึกษาเกี่ยวกับการเผาผลาญในร่างกาย
ผลการวิจัยพบว่า จากการใช้ออกซิเจนและคาบอนไดออกไซด์ลดน้อยกว่าในเวลาปกติเฉลี่ยได้ ๒๐ เปอร์เซ็นต์ ÝÝ
อีกคณะหนึ่งÝ นักวิทยาศาสตร์ชื่อคาซามัสสุ เป็นหัวหน้าได้ศึกษาคลื่นไฟฟ้าของสมองในผู้ปฏิบัติสมาธิตามวิธีนิกายเซ็นเปรียบเทียบกับคนธรรมดา
ผลการวิจัยพบว่า นักปฏิบัติที่ทำสมาธิแบบลืมตานั้น คลื่นไฟฟ้าสมองแตกต่างจากที่พบในคนนอนหลับอย่างธรรมดา แสดงว่าสมาธิต่างจากการนอนÝ มีลักษณะอยู่ระหว่างคลื่นสมองของคนที่หลับและตื่น เป็นสภาพครึ่งหลับครั้งตื่นแต่ไม่ใช่ง่วง คือสงบแต่ไม่เฉื่อย ไม่ตื่นเต้นแต่พร้อมที่จะปฏิบัติหน้าที่

     ๓. สมาธิที่มีต่อการเรียน
        พ.ศ. ๒๕๑๓-๒๕๑๔ ในประเทศไทย ได้มีนักวิทยาศาสตร์ ได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับเรื่องจิต คือ ศาสตราจารย์นายแพทย์โรจน์ สุวรรณสุทธิ และคณะทำงานแห่งคณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้ทำการทดลองให้นักศึกษาแพทย์ชาย หญิง ๓๒ คน อายุระหว่าง ๑๙-๒๓ ปี ฝึกสมาธิแบบสมถกรรมฐาน สัปดาห์ละ ๕ วันตลอดเวลา ๒๐ สัปดาห์ และประเมินผลเกี่ยวกับการศึกษาและความนึกคิดโดยวิธีการต่างๆ ผลการวิจัยพบว่า
        ๑. นักศึกษามีความตั้งใจเรียนมาก ๖๒ เปอร์เซ็นต์
        ๒. รักการเรียนมากขึ้น ๓๑ เปอร์เซ็นต์
        ๓. มีความเห็นว่าการฝึกสมาธิมีประโยชน์กับการเรียน ๖๕ เปอร์เซ็นต์
        ๔. ทำให้ความจำดีขึ้นและการทำงานคล่องแคล่ว
       ๕. การบันทึกคลื่นสมองไฟฟ้าพบว่า ในระหว่างการทำสมาธิคลื่นสมองมีความราบเรียบมากต่างจากบุคคลธรรมดาทั่วไป

     ๔. สมาธิที่มีต่ออัตราการใช้ออกซิเจนในร่างกาย
            พ.ศ. ๒๕๑๐ ดร.เฮอร์เบิร์ต เบนสัน ผู้ก่อตั้งสถาบันรักษาใจและกาย (Mind/Body Medical Institute) ศาสตราจารย์สอนวิชาแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Havard Medical School) รัฐแมสซาชูเซ็ทส์ ได้ทำการทดลองกับ นักปฏิบัติธรรม จำนวน ๓๖ คน ผลการวิจัยพบว่า
 ๑. อัตราการใช้ อ๊อกซิเย่น ลดลง ๑๗% หมายความว่า ถ้าร่างกายใช้ อ๊อกซิเย่น น้อยลง
อัตราการเผาผลาญ ในร่างกายก็จะ ลดลง ไปด้วยÝ เมื่อเผาผลาญลดลงÝ ร่างกายก็เสื่อมน้อยลง เช่นกัน เมื่อร่างกายเสื่อมน้อยลง หน้าตาก็จะ อ่อนกว่าวัย และอายุขัยก็จะ ยืนยาว อัตราการเต้นของหัวใจ ลดลงนาทีละ ๓ ครั้ง หมายความว่าÝ หัวใจจะแข็งแรงและ ไม่ต้องทำงานหนัก เหมือนแต่ก่อน
๒. สามารถบันทึกคลื่นสมองของคนเราได้ ด้วยการเอาเครื่อง EEG มาฉายแสดงออกเป็นเส้นกร๊าฟ ผลการวิจัยของ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สรุปอย่างชัดเจนว่าสมาธิก่อให้เกิด คลื่นสมองธีต้า (Theta wave)

        ๕. สมาธิที่มีผลต่อความดันโลหิตสูง
จากวารสารสมาคมโรคหัวใจ (American Heart Association's journal Hypertension) มีคณะผู้วิจัยกลุ่มหนึ่ง ได้ทำการศึกษาชายหญิงชาวอเมริกันนิโกร กว่าร้อยคนที่มีความดันโลหิตสูงแต่ไม่ได้ทำการรักษา คณะผู้วิจัยได้แบ่งคนออกเป็น ๓ กลุ่ม คือ
กลุ่มแรก รักษาความดันโลหิตสูงด้วยวิธีการทำสมาธิ
กลุ่มที่สอง รักษาความดันโลหิตสูงด้วยวิธีการผ่อนคลายความตึงเครียดของกล้ามเนื้อ และพักผ่อน
กลุ่มที่สามรักษาความดันโลหิตสูงด้วยวิธีการให้ออกกำลังกายงด สูบบุหรี่ จำกัดแอลกอฮอล์ และลดความอ้วน
หลังจากนั้น ๓ เดือน เขาได้ตรวจวัดความดันทั้ง ๓ กลุ่มปรากฏว่ากลุ่มแรกความดันเลือดเฉลี่ยลดลงถึงร้อยละ ๗ นอกจากนี้ยังลดการเป็นโรคหัวใจลงร้อยละ ๒๐-๔๕ ลดอาการหัวใจวายลงร้อยละ ๓๕-๔๐ ส่วนกลุ่มที่สองลงลงได้เพียงร้อยละ ๓ และกลุ่มที่สาม ไม่ลดลงเลย

         ๖. สมาธิและความสัมพันธ์ของการรักษาโรค
คณะแพทย์ของมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน ได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับสมาธิและความสัมพันธ์ของการรักษาโรค ผลการวิจัยพบว่า การทำสมาธิมีความสัมพันธ์กับสมองด้านซ้ายและส่งผลให้เกิดสุขภาพที่ดี
คณะผู้วิจัยรับสมัครบุคคลจำนวน ๒๕ บุคคลจากที่ทำงานที่แวดล้อมไปด้วยพนักงานที่มีสุขภาพที่ดี ในระหว่าง ๘ สัปดาห์ของโปรแกรมการฝึกอบรมเกี่ยวกับสมาธิ บุคคลเหล่านั้นได้ถูกให้วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่และตรวจวัดการเปลี่ยนแปลงทางไฟฟ้าในสมอง ในตอนท้ายของการทดลอง คณะผู้วิจัยสรุปว่าสมาธิส่งผลในทางบวกต่อทั้งสมองและภูมิคุ้มกันของร่างกาย แม้ว่าจะเป็นการทำสมาธิในระยะสั้นก็ตาม
การทำสมาธิแสดงให้เห็นว่าผู้เข้าร่วมการทดลองมีความกังวลน้อยลง และมีการเปลี่ยนแปลงที่สมองด้านซ้ายมากขึ้น ตามทฤษฎีทางการแพทย์สมองด้านซ้ายจะมีความสัมพันธ์กับความสามารถในการต่อต้านความคิดที่เป็นลบหรือความเครียด
       
 ๗. สมาธิที่มีต่อการทำงานของคลื่นสมอง
ดร.เกรก จาคอบส์ ศาสตราจารย์สอนวิชารักษาโรคทางจิต สถาบันแพทย์แห่งฮาร์วาร์ด ร่วมกับดร. เบนสัน บันทึกคลื่นสมองด้วยเครื่อง EEG[๑] ของคนกลุ่มหนึ่งที่เรียนวิชาสมาธิ และอีกกลุ่มหนึ่งเรียนวิธีผ่อนคลายจากการฟังเท้ป อีก ๒-๓ เดือนต่อมา คนที่นั่งสมาธิมีคลื่นสมองธีต้ามากกว่าคนที่ฟังเท้ป สมองส่วนหน้าซึ่งทำหน้าที่รับและย่อยข้อมูลทำงานน้อยลง ใกล้ๆระดับตอนบนของศีรษะ มีสมองส่วนกลางที่บอกเวลาและสถานที่ สมาธิทำให้สมองส่วนนี้ทำงานน้อยลง การที่สมองส่วนกลางปิด ทำให้เรารู้สึกว่าขอบเขตหายไป และ ìเป็นหนึ่งî (Oneness )กับจักรวาล

       ๘. สมาธิที่มีต่อระบบเลือดในสมอง
ดร.เบนสัน ทำการวิจัยสมาธิกับระบบเลือดในสมอง โดยการนำเอาชาวซิกห์มาทดสอบ ชาวซิกห์กลุ่มนี้มีสมาธิจิตสูงมากถึงขนาดว่าเครื่อง fMRI กระทบกันดังแคล้งก็ยังนั่งสมาธิต่อไปได้ (เครื่องนี้มีพลังแม่เหล็กสูงกว่าโลก ๕๐,๐๐๐ เท่า) เมื่อวัดเลือดในสมอง ผลการวิจัยพบว่า เลือดในสมองไหลลงมาหมด แต่บางส่วนรวมทั้งระบบลิมบิคไหลขึ้น (ระบบนี้แสดงอารมณ์ ความจำ ควบคุมการเต้นของหัวใจและลมหายใจให้เป็นปกติรวมทั้งการเผาผลาญของร่างกายด้วย)

       ๙. สมาธิที่มีต่อสมองทั้งสองซีก
ริชาร์ด เดวิดสัน นักวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยวิสคอนซินตั้งอยู่ในเมืองเมดิสัน สร้างรูป (image) ในสมองแสดงให้เห็นว่าสมาธิเปลี่ยนการทำงานในคอร์เท็กซ์บริเวณก่อนถึงสมองส่วนหน้า (หลังหน้าผาก) จากซีกขวามาซีกซ้าย และพบว่าคนที่นั่งสมาธิเป็นประจำ สมองจะเปลี่ยนจากความคิดที่ว่าจะสู้ดีหรือหนีดีมาเป็นยอมรับสถานการณ์ เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้ตนพอใจมากขึ้น คนที่อารมณ์ไม่ดีมักจะใช้สมองทางซีกขวาระดับก่อนถึงหน้าผาก ส่วนคนที่ใช้ซีกซ้าย แม้จะมีบ้านและที่ดินน้อยกว่าก็ตาม แต่จะที่ใช้ซีกกระตือรือร้นมากกว่า มีความสนใจสิ่งต่างๆมากกว่า รู้สึกผ่อนคลายและมีความสุขมากกว่าคนขวา
ต่อมาจอน กะบาต-ซินน์ ผู้เคยได้ศึกษาพระพุทธศาสนามาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๓ ได้ตั้งคลินิคคลายความเครียดในศูนย์แพทย์ยูแมส และพ.ศ. ๒๕๒๒ พยายามเอาพลังงานของสมาธิมารักษาโรคด้วยวิธีการที่เป็นวิทยาศาสตร์มากขึ้นกับมาริชาร์ด เดวิดสัน ศึกษาเรื่องใหม่อีกเรื่องหนึ่ง คือ ฉีดยาแก้ไข้ให้ผู้ป่วยที่นั่งสมาธิและที่ไม่ได้นั่งสมาธิ จากการตรวจระดับภูมิคุ้มกันโรคในเลือด วัดการทำงานของสมอง พบว่าสมองย้ายที่ทำงานจากซีกขวามาทางซีกซ้าย คนไข้ที่นั่งสมาธิมีภูมิคุ้มกันโรคภายใน ๔ และ ๘ สัปดาห์หลังฉีดยา แต่คนไข้ที่สมองย้ายที่ทำงานมากที่สุดจะมีภูมิคุ้มกันมากที่สุด ยิ่งถ้านั่งสมาธิด้วยวิธีการที่ดีกว่า ร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันโรคมากกว่า

       ๑๐. การทำงานของสมองในขณะนั่งสมาธิ
พ.ศ. ๒๕๔๐ นักประสาทวิทยาคนหนึ่งชื่อ แอนดรู นิวเบิร์ก จากมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย ได้ทำการทดสอบชาวพุทธที่นั่งสมาธิกลุ่มหนึ่ง โดยใช้เครื่อง LVS มีสีย้อมกัมมันตรังสีเกิดแสงในสมองที่ส่องให้เห็นทิศทางการไหลของเลือดในสมองและเห็นส่วนต่างๆ ที่สมองทำงานมากที่สุด แอนดรูสามารถจับจุดสูงสุดของสมาธิได้ คือ ตอนย้ายกลุ่มทดลองไปนั่งสมาธิห้องข้างๆ เขาใช้เชือกพันรอบนิ้ว ปลายเชือกอีกข้างหนึ่งสอดใต้ประตู วางไว้ใกล้ๆคนนั่งสมาธิ เมื่อนั่งจนใจเป็นสมาธิแล้ว คนนั่งก็จะดึงเชือก แอนดรูจะปล่อยสีย้อมเข้าไปในแขนของคนนั่ง ผลการวิจัยพบว่า สมองไม่ได้ปิด แต่กั้นไม่ให้เรื่องราวต่างๆ เข้ามาในสมองส่วนกลางขณะนั่งสมาธิ

แนวทางแห่งพุทธศาสนาที่ว่า"สมาธินำทางสู่แสงสว่าง แสงสว่างนำทางไปสู่ปัญญา"

 จาก ....TU sports Science

วิดีโอ

WatpaLA-Youtube

Copyright ©2554 วัดป่าธรรมชาติ มลรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา