สารบัญ
หน้าที่ 4 จาก 4
อารมณ์กัมมัฏฐานอะไรคืออารมณ์ อารมณ์คือสิ่งที่ใจนึกคิด ในกัมมัฏฐานที่เรียกว่า สมถกัมมัฏฐาน มีอารมณ์สำหรับให้ใจเรานึกคิดอยู่ ๔๐ อย่างด้วยกัน คือ อสุภะ ๑๐ กสิณ ๑๐ อนุสสติ ๑๐ พรหมวิหาร ๔ อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑ จตุธาตววัตถาน ๑ และอรูปฌาน ๔ รวมแล้วเป็น ๔๐ อย่าง ทั้งหมดนี้เป็นอารมณ์ของกัมมัฏฐาน หมายถึงสิ่งที่เป็นเครื่องสำหรับให้ใจนึกคิด ปกติใจของเรานั้นคิดอยู่แล้ว ถึงเราไม่หาอารมณ์มาให้คิด ใจก็มีอารมณ์ที่ต้องคิดอยู่แล้ว สิ่งที่ใจคิดนั้นส่วนมากมักจะคิดไปในเรื่องอื่น คือคิดไปตามอำนาจของกิเลสที่มีอยู่ในจิตนั้นเอง บางทีก็นึกคิดไปในเรื่องที่เป็นเหตุให้เกิดความโลภหรือเกิดราคะความกำหนัดยินดี หรือบางครั้งก็คิดไปในเรื่องที่ทำให้เกิดความอาฆาตพยาบาทจองเวร มีการเกลียดชังหรือคิดไปในเรื่องที่ทำให้เกิดความลุ่มหลง ไม่รู้ตามความเป็นจริง นี่ส่วนมากอารมณ์ของจิตที่มันคิดไปตามธรรมชาติ มักจะคิดไปในเรื่องดังกล่าวมานี้เราสังเกตดูก็ได้ จิตของเราที่คิดในแต่ละวันคิดเรื่องอะไรบ้าง ส่วนมากจะคิดไปในเรื่องที่ทำให้เกิดกิเลสขึ้นมานั่นแหละ ก็เพราะกิเลสนั้นมีอยู่ในใจเราทุกคน อย่างเวลานี้เรากำลังคิดเรื่องอะไรอยู่ก็จะคิดไปตามกิเลสที่มีอยู่ในจิตของเรานั่นแหละ มันชวนเรานึกคิด นี้เป็นอารมณ์ของจิต เป็นอารมณ์ที่สำหรับให้จิตนั้นนึกคิด เช่นคิดเรื่องความโลภอย่าได้นั้นอยากได้นี่ อยากเป็นนั้นอยากเป็นนี้ แต่ละวันๆ คิดอยู่ตลอดเวลา เพราะธรรมชาติของจิตเป็นธรรมชาตที่คิดอยู่แล้ว ที่มันคิดตลอดเวลาโดยที่เราไม่รู้สึกตัวนั้น คิดแต่ในเรื่องที่ทำให้เกิดความหลงขึ้นมา หลงในอะไร ส่วนมาก็หลงอยู่ในตัวเรานี้เอง เริ่มต้นอยู่ตรงนี้ มันทำให้ยึดติด ทำให้เกิดการเข้าไปเกาะเกี่ยวเป็นอุปาทานต่างๆความหลงสำคัญกว่าอย่างอื่น ความโลภ ราคะ โทสะ ความโกรธก็พอจะทุเลาเบาบางได้ แต่ความหลงนี้แหละที่เราคิดอยู่ตลอดเวลา จิตมันคลายไม่ออก เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านจึงต้องใช้วิธีใหม่ คือหาเรื่องมาให้จิตของเราหัดนึกหัดคิดเสียใหม่สิ่งที่จะนำมาให้คิดนั้นควรให้เกิดประโยชน์ ท่านได้แบ่งเป็นหมวดๆ เอาไว้ เช่น อสุภะ ๑๐ เอามาเพื่อสำหรับจะหักล้างราคะ ความกำหนัดยินดี ปกติจิตมักชอบสวยชอบงาม ไปยึดติดในเรื่องความสวยงามหรือความพอใจ อาจไม่ใช่ในเรื่องรูปก็ได้ อาจไปพอใจในเรื่องเสียง กลิ่น รส สัมผัส ต้องดูที่จิตของเรามักจะไปพะวักพะวงนึกถึงแต่ในเรื่องเหล่านี้มาตลอด ถ้าปล่อยให้จิตคิดไปในเรื่องเหล่านี้ หนักๆ เข้าก็เพิ่มพูนกิเลสขึ้นมามันก็หลงติดอยู่ เพราะฉะนั้น ท่านจึงให้เอา อารมณ์เรื่องอสุภะมาพิจารณาให้เห็นเป็นของไม่สวยไม่งามไปเสียการพิจารณาความไม่สวยไม่งามทั้งกายเราและกายเขา มีถึง ๑๐ ชนิดด้วยกัน แต่ทั้ง ๑๐ ชนิดนี้ก็คือการพิจารณาในกาย เช่น พิจารณาซากศพให้มองเห็นเป็นของปฏิกูลเน่าเปื่อย ซากศพที่กำลังขึ้นอืด ซากศพที่เป็นสีเขียว ซากศพที่ถูกตัดเป็นท่อนๆ เหล่านี้เป็นต้น จุดประสงค์ก็เพื่อต้องการให้เราเปลี่ยนอารมณ์ความคิดใหม่นั่นเอง เพราะอารมณ์ที่เราคิดเป็นปกตินั้น มันเป็นอารมณ์ที่เป็นข้าศึกต่อจิตใจของเรา เป็นอารมณ์ที่เพิ่มพูนกิเลสที่มีอยู่ในจิตของเรา เพราะฉะนั้น ท่านจึงเอาอารมณ์ชนิดนี้เข้ามาให้เรานึกคิดพิจารณา ที่เรียกว่า อสุภกัมมัฏฐานอารมณ์กัมมัฏฐานอีกอย่างหนึ่งเรียกว่า กสิณ คือการเพ่ง เป็นวิธีการที่เราไม่ปล่อยให้จิตนึกคิดไปตามอำนาจที่มันอยากคิด จิตคิดฟุ้งซ่านหรือจิตคิดไม่แน่นอนอะไรต่างๆ เหล่านี้ ท่านให้เพ่งกสิณซึ่งมี ๑๐ อย่างด้วยกัน เช่น ให้เพ่งเป็นสี เช่น สีแดง ขาว เขียว หรือเพ่งลม เพ่งอากาศ เพ่งไฟ เหล่านี้เป็น ก็คือ ลักษณะของการสร้างอารมณ์ขึ้นมาใช้ตามอง และให้จิตของเรานึกอยู่ในสิ่งที่เรากำลังเพ่งอยู่ เป็นการสร้างอารมณ์กัมมัฏฐานขึ้นมาให้คิดใหม่นั่นเอง เพราะถ้าปล่อยให้จิตของเราคิดไป ก็จะไม่มีจุดจบจิตของเรานี้มันคิดไม่มีขอบเขต คือไม่มีขอบเขตว่ามันอยู่ตรงไหน จุดหมายปลายทางของจิตอยู่ตรงไหนก็ไม่รู้ ใครเคยรู้บ้างไหมว่า จิตของเรามีขอบเขตคิดอยู่ตรงไหน มันจำกัดขอบเขตไหม มีจำกัดเวลาไหม หรือมีเป้าหมายไหมที่จิตมันคิด ถ้าเรากำหนดดูแล้วจะมองไม่เห็นเลยว่าขอบเขตมันอยู่ตรงไหน และกำหนดไม่ได้ด้วยว่ามันคิดอะไร คิดอย่างไร และเป้าหมายของความคิดมันอยู่ตรงไหน มันไม่มีเลยตั้งแต่ลืมตาตอนเช้า จิตก็เริ่มทำงานแล้ว นึกคิดนั้นก็ไม่รู้คิดเรื่องอะไรบ้าง คิดไปถึงตรงไหน คิดเพื่ออะไร และคิดทำไม เราเคยตั้งคำถามและได้รับคำตอบไหม นี่คือจิตของเราเป็นอย่างนั้น ฉะนั้น เราจึงต้องหาอารมณ์ คืออารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งเข้ามาเพื่อที่จะได้นึกคิดและหาขอบเขตความคิดของเราเอาไว้ การเพ่งเป็นการสร้างขอบเขตให้จิตนั้นได้คิด เช่น แสงไฟ แสงเทียน สี ดอกไม้ เป็นต้น เพื่อให้เรารู้ว่าขอบเขตของความคิดนั้นอยู่เพียงนั้น อยู่ในจุดนั้น นี่เป็นวิธีการที่เราสร้างขอบเขตให้จิตขณะนึกคิด เราลองพากันสร้างขอบเขตให้จิตนึกคิดดู อย่างเรานึกพุทโธๆ หรือลมหายใจเข้าออก บางทีก็ไม่มีขอบเขตที่แน่นอน ก็เป็นแต่นึกคิดไปอย่างนั้น ฉะนั้นเราต้องหาอารมณ์อย่างที่เป็นกสิณคือเพ่ง เป็นการสร้างขอบเขตที่แน่นอน นี่เป็นวิธีการสร้างอารมณ์ชนิดหนึ่งขึ้นมาส่วนอนุสสติ ๑๐ เป็นการระลึก เป็นวิธีระลึก ไม่ได้สัมผัสอย่างอสุภะและกสิณที่กล่าวมาแล้ว อสุภะใช้ตาช่วย คือตามองเห็นสิ่งปฏิกูล มองเห็นซากศพ ส่วนกสิณใช้ตาเพ่งเข้าไป ตาช่วยสัมพันธ์กับความรู้สึก แต่อนุสสติ ๑๐ นั้น เป็นการระลึกภายในอย่างที่เรากำลังทำอยู่ขณะนี้ คือ อานาปาณสติ คือระลึกลมหายใจเข้าหายใจออก นี้เป็นวีการสร้างขอบเขตให้ความคิดของเราอยู่ในกรอบเช่นเดียวกัน แต่มันเป็นนามธรรม ไม่ใชรูปธรรม มันเป็นสิ่งที่ดี เพราะว่ามันระลึกอยู่ภายในตัวเรา ไม่ได้ออกมาข้างนอกการพิจารณาอสุภะก็ดี กสิณก็ดี นั่นอยู่ภายนอก มันเป็นรูปธรรม ส่วนอนุสสติ ๑๐ นั้น เป็นนามธรรมที่เราระลึกอยู่ภายในใจ เช่น พุทธานุสติ ธัมมานุสติ สังฆานุสติ ระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า คุณพระธรรม คุณพระสงฆ์ หรือระลึกถึงบุญที่เราได้กระทำมา ระลึกถึงคุณเทวดา ระลึกถึงความตาย กำหนดลมหายใจ ระลึกถึงความสงบพระนิพพาน เหล่านี้เป็นต้น เป็นการสร้างอารมณ์ภายใน เอานามธรรมมาระลึก ซึ่งเราสังเกตดูว่ามันสอดคล้องกับจิตของเราอารมณ์กัมมัฏฐานอีกอย่างหนึ่ง เรียกว่า พรหมวิหาร ๔ เป็นการสร้างเมตตาจิต สร้างกรุณาความสงสาร มิทิตาพลอยยินดี และอุเบกขาความวางเฉย ขึ้นมาเป็นอารมณ์สำหรับให้ใจเราระลึกอยู่ ไม่ให้ออกไปคิดในเรื่องอื่น ส่วน อาหาเรปฏิกูลสัญญา เป็นอารมณ์กัมมัฏฐานอีกอย่างหนึ่งในการพิจารณาอาหารให้เห็นเป็นของปฏิกูล อีกอย่างหนึ่ง เป็นการพิจารณาธาตุทั้ง ๔ ภายในร่างกาย เรียกว่า จตุธาตววัตถาน อารมณ์กัมมัฏฐานอย่างสุดท้ายคือ อรูปฌาน ๔ ทั้ง ๔๐อย่างนี้เป็นอารมณ์สมถกัมมัฏฐานที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ก็คืออานาปานสติ ทำไมท่านจึงนิยมในอานาปานสติมากกว่าอย่างอื่น เพราะอานาปานสตินี้เป็นอารมณ์กัมมัฏฐานที่สามารถใช้ได้ในทุกรูปแบบ เอาไปปราบกิเลสได้ทุกชนิดและสามารถปราบนิวรณ์ได้ เป็นอารมณ์กลางๆ คือไม่เน้นจุดใดจุดหนึ่ง ไม่เน้นไปในเรื่องความไม่สวยไม่งาม หรือการเพ่งกสิณ หรือในทางถีนมิทธะ อุทธัจจะกุกกุจจะ และวิจิกิจฉา คือไม่เน้นในเรื่องใดเรื่องหนึ่งการเจริญอานาปานสติ พิจารณากำหนดลมหายใจเข้าออกนั้นไม่ใช่เป็นเรื่องของวัตถุ มันเป็นประโยชน์และสอดคล้องกับจิตของเรา เพราะจิตของเรานั้นเป็นนามธรรม ประโยชน์ประการหนึ่งก็คือเราจะนำไปใช้ในการพิจารณาได้ง่าย อีกประการหนึ่งก็คือมันมีอยู่ภายในตัวของเราแล้ว ถ้าเอาอารมณ์อย่างอื่น เราจำเป็นที่จะต้องแปลงเสียก่อนอย่างเช่นเราเพ่งกสิณ เพ่งรูปจนมันติดตาเรา หลับตาก็เห็น นั่นคือแปลงจากรูปธรรมมาเป็นนามธรรม มันจึงจะเข้าไปผสมผสานกับจิตได้ แม้แต่อสุภะก็เหมือนกัน เพ่งจนมันเกิดความรู้สึกภายใน คือต้องเห็นด้วยตา เห็นเป็นนามธรรมแล้วก็ต้องนำเข้าไปพิจารณาภายในอีกครั้งหนึ่ง ดังนั้น จึงต้องแปลงสิ่งที่เราระลึกจากรูปธรรมมาเป็นนามธรรมก่อน แล้วค่อยนำไปพิจารณาภายในตัวของเรา ส่วนที่เรามาระลึกดูลมหายใจเข้าออกนั้นเป็นนามธรรมแล้ว จึงไม่ต้องแปลง และการที่เรามาระลึกพุทโธๆ ประกอบเข้าไปด้วยก็เป็นการสร้างตัวผู้รู้ให้เกิดขึ้น ประการสุดท้าย ลมหายใจเข้าออกนี้เป็นประโยชน์ที่จะนำไปใช้เมื่อเราเลื่อนระดับจิตขึ้นสู่วิปัสสนากัมมัฏฐานต่อไปกัมมัฏฐานดังที่กล่าวมาทั้งหมดนั้นเป็นอารมณ์ของสมถกัมมัฏฐานทั้งหมด สมถกัมมัฏฐานเป็นอุบายที่ทำใจให้สงบ อารมณ์กัมมัฏฐานอย่างใดอย่างหนึ่งจาก ๔๐ อย่างนั้นเป็นอุบายทำให้ใจเราสงบ จะทำอย่างไรก็แล้วแต่ที่ทำให้ใจเราสงบได้ เรียกว่าสมถกัมมัฏฐาน หรือแม้เราจะไม่เอาอารมณ์ทั้ง ๔๐ อย่างนี้ จะเอาอารมณ์อย่างอื่นก็ได้ ขอให้ใจเราสงบ ก็ชื่อว่าได้บำเพ็ญสมถกัมมัฏฐานแล้ว แต่ที่ท่านกำหนดมาทั้ง ๔ อย่างนี้เรียกว่าสมบูรณ์แล้ว ถ้าเอาอย่างดื่นมาอีก แม้จะเป็นสมถกัมมัฏฐาน แต่ต่อไปมันอาจจะไม่เป็นประโยชนคือไม่เป็นบาทให้เกิดวิปัสสนาได้ บางทีเรานำมาระลึกและจิตสงบอยู่ แต่จิตมันละมันวางไม่ได้ จิตก็อาจจะเพิ่มกิเลสขึ้นมาก็ได้ เพราะฉะนั้น อารมณ์กัมมัฏฐานทั้ง ๔๐ อย่างนั้นจึงเป็นประโยชน์สำหรับจิตเรา คือเพื่อให้จิตของเราสงบที่ว่าจิตสงบนั้น สงบจากอะไร ก็สงบจากนิวรณ์ ๕ ดังนั้น ถ้าเราอาศัยอารมณ์กัมมัฏฐานทั้ง ๔๐ นี้อย่างใดอย่างหนึ่ง จนจิตของเราติดอยู่ในอารมณ์นั้น ความสงบก็เกิดขึ้น เมื่อความสงบเกิดขึ้นนิวรณ์ก็ดับไป ก็จบลงเพียงเท่านี้สำหรับหน้าที่สมถกัมมัฏฐาน ก็สิ้นสุดเพียงเมื่อจิตสงบ เมื่อนิวรณ์หมดแล้วก็ไม่มีงานต้องทำแล้ว ไม่รูจะทำอะไรต่อแล้ว อุปกรณ์ทั้ง ๔๐ อย่างนั้นก็เพื่อต้องการนำมาใช้ให้ใจเของเราสงบนั่นเองหลังจากใจสงบแล้ว หมดหน้าที่ของสมถกัมมัฏฐานแล้วก็ต้องทำอะไรต่อไปอีก นั่นก็คือเราต้องทำวิปัสสนา เรามาพิจรณาดูว่าที่ใช้ลมหายใจเข้าลมหายใจออกนั้นเป็นประโยชน์ไหมต่อการที่จะขึ้นไปพิจารณาเพื่อให้เกิดปัญญที่เรียกว่าวิปัสสนา คือการรู้แจ้ง ถ้าเอาอย่างอื่น บางทีอาจจะใช้ประโยชน์ไม่ได้เต็มที่ เช่น เพ่งกสิณ พอเป็นกสิณเสร็จแล้วก็ใช้ประโยชน์อะไรไม่ได้ ถ้าเราใช้อสุภะ มันก็ได้พิจารณาร่างกายของเรา ถ้าเราใช้ลมหายใจเข้าออก มันจะเป็นประโยชน์และก็มาเข้ากับมหาสติปัฏฐานพอดี เอาลมหายใจนี่แหละเข้ามาพิจารณาเพื่อให้เกิดปัญญาต่อไปโดยโอปนยิโก คือน้อมเข้ามาสู่ตัวเรา เริ่มมาพิจารณาที่ตัวของเราโดยจะพิจารณาถึงชีวิตเราชีวิตเขา ทั้งเป็ฯคนและเป็นสัตว์ ว่าต่างก็ใช้ลมหายใจเข้าหายใจออกนี้ ถ้าปราศจากลมหายใจเข้าออกแล้ว ชีวิตเราชีวิตเขาทั้งคนและสัตว์มันก็จบลง นี่เราสามารถที่จะนำมาพิจารณาให้เกิดปัญญาได้ แต่ยิ่งจิตของเราสงบดิ่งลงไป จนจิตมันแนบสนิทแล้วเพียงแต่ขยับจิตคิดถึงลมหายใจเข้าออกเท่านั้น ปัญญาก็เกิดขึ้นทันที เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็จะมองเห็นสาระแก่นสารของชีวิตได้ ว่าเราเป็นอยู่กันทุกวันนี้ได้ก็เพราะลมหายใจเข้าออกมีอยู่ เราโลภได้ โกรธได้ หลงได้ ยึดติดได้ เป็นเราเป็นเขาได้ เพราะมีลมหลานใจเข้าหายใจออกนี้แหละสมมติว่าลมหายใจเข้าลมหายใจออกมันหยุดไปสัก ๑๐ นาที ทุกสิ่งทุกอย่างก็จบลงเพียงเท่านั้น มันไม่มีอะไรเลย ตัวเราตัวเขาก็จบลงเพียงเท่านี้ ตัวเราที่มีอยู่นี้มันก็ไม่ใช่ตัวเราอีกแล้ว มันไม่มีความรู้สึกอีกแล้ว ส่วนร่างกายเขาก็เอาไปเผาทิ้งหมด คนที่เกี่ยวข้องก็ไม่มีการเกี่ยวข้องกันแล้ว ก็ตัดขาดกันไป มีลูกก็ตัดลูก มีสามีภรรยาก็ตัดสามีภรรยา มีญาติพี่น้องก็ตัดญาติพี่น้อง มีเพื่อนก็ตัดเพื่อนไป มันก็ตัดขาดจบลงเพียงเท่านั้น ส่วนทรัพย์สินเงินทองที่มีอยู่ ก็หมดสิทธิ์อยู่เพียงเท่านั้น คือหมดสิทธิ์เมื่อหมดลมหายใจนักปราชญ์สมัยก่อนนี้ท่านฉลาดสอนคน คือไม่สอนด้วยคำพูด แต่สอนด้วยการทำและการแสดงให้ดู โดยอาศัยคนตายสอนคนเป็น เมื่อคนตายเขาก็เอาไปรดน้ำศพ แบมือให้เทน้ำล้างมือ ก็เตือนนั่นแหละว่า ตอนเกิดมานั้นกำมือแน่น พอตายก็แบมือ เหมือนแสดงความบริสุทธิ์ คือไม่มีอะไรเอาไปด้วยเลย แม้แต่ขี้ไคลที่ติดมือก็ยังต้องล้างออกคือไปมือเปล่า นี้ท่านสอนคนเป็นให้สำนึกระลึกว่า จะมีอะไรก็แล้วแต่มันเอาไปไม่ได้ แม้ก่อนเผาก็เหมือนกัน อุตส่าห์เอาเงินไปใส่ในปากศพ ก็เป็นการเตือนอีกแหละว่าแม้แต่บาทเดียวก็เอาไปไม่ได้ จะกอบโกยไว้เถอะ แม้แต่บาทเดียวก็ไม่สามารถเอาไปด้วยได้ นี้เป็นการสอนให้เรารู้และเข้าใจตามความเป็นจริง เพียงแต่เราอาศัยลมหายใจเข้าลมหายใจออกนี้ ก็ทำให้เกิดปัญญาขึ้นมาได้ ทำให้ฉลาดขึ้นมาได้ ความเป็นจริงมันมีอยู่อย่างนี้แหละ แต่จิตของเรานั้นไม่มีโอกาสได้คิดเลย เพราะมัวแต่ประมาท มัวแต่หลงอยู่ เราไม่รู้เลยว่าชีวิตเรานี้มันสำคัญตรงไหน ไปคิดว่ามันสำคัญในเรื่องอื่น ไปสำคัญเรื่องนั้นเรื่องนี้ แต่ความเป็นจริงแล้วชีวิตก็อยู่ตรงนี้เอง ถ้าลองหัดพิจารณาบ่อยๆ นึกบ่อยๆ แล้วจะเห็นว่าชีวิตก็อยู่เพียงแค่นี้ มันไม่มีอะไรมาก เพียงอาศัยลมหายใจเข้าออกอย่างเดียวเท่านั้น ก็สามารถทำให้เกิดปัญญาขึ้นมาได้ จิตที่มันเคยโลภจนเกินไปก็ลดปริมาณลง จิตที่เคยอาฆาตพยาบาทจองเวรก็ลดลง จิตที่เคยหลงติดสิ่งนั้นสิ่งนี้ก็จะคลอยออกได้ เพราะฉะนั้น เราอาศัยลมหายใจเข้าออกนั้นทำให้จิตสงบได้ เมื่อจิตสงบแล้วก็อาศัยสิ่งนี้แหละเป็นสะพานเชื่อมไปนอกจากเราจะอาศัยลมหายใจเข้าออกทำให้เกิดปัญญาแล้ว เรายังอาศัยสิ่งอื่นอีกในตัวเรานี้ เฉพาะในตัวเราที่มีอยู่ทั้งหมดนี้ เราใช้เป็นอุปกรณ์ให้เกิดปัญญาได้ทั้งนั้น ปัญญาไม่ต้องวิ่งไปหาที่ไหน ไม่ต้องไปศึกษาที่ ไม่ต้องศึกษาในตำราในคัมภีร์หรือครูบาอาจารย์ที่ไหน ตำราก็อยู่ในตัวของเรานี้แหละ พระไตรปิฎกก็อยู่ในตัวของเรานี้ ครูบาอาจารย์ก็เช่นเดียวกัน อยู่นในตัวของเรานี้แหละ พระพุทธเจ้าตรัสว่าธรครมะ ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ แยกโดยพิสดารมีตั้ง ๘๔,๐๐ เรื่อง แต่ย่นยอ่ลงมาก็มีเพียง ๓ เรื่อง คือศีล สมาธิ ปัญญา ถ้าย่นย่อลงมาอีกก็เหลือเพียงเรื่องเดียว อยู่ที่กายเรานี่แหละ นี่พระไตรปิฎกอยู่ที่นี่ ไปศึกษาเถิด ดูไปเถิด อะไรอยู่ตรงไหน ล้วนแล้วแต่ทำให้เกิดปัญญาทั้งนั้น เป็นครูให้เราทั้งนั้น เฉพาะลมหายใจเข้าออกถ้าเราพิจารณาดูแล้วทำให้เกิดปัญญา เกิดความรู้ความเข้าใจตามความเป็นจริง นอกจากลมหายใจแล้วทุกส่วนในร่างกายนี้ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดปัญญาได้ทั้งนั้น แต่ในขณะเดียวกัน ในตัวเรานี้แหละก็ทำให้เราหลง เพราะฉะนั้นในเมื่อจิตของเราสงบลงพอสมควรแล้วก็พยายามเอาที่ตัวของเรามานึกคิดพิจารณา ธาตุ ๔ ดิน น้ำ ไฟ ลม อยู่ที่ไหนก็อยู่ที่ตัวของเรา ก็ดูซิ มีอะไรบ้าง อะไรที่มีอยู่ในตัวเของเราทั้งหมด ที่แข็งๆ ก็เป็นธาตุดิน ส่วนธาตุน้ำ ลม ไฟ ก็เอามานึกคิดเอาพิจารณาส่วนไหนของร่างกายก็เอามานึกคิดพิจารณาได้ทั้งนั้น เอาผม ขน ฟัน เล็บ หนัง กระดูก ตับ ไต อวัยวะต่างๆ เอามาพิจารณาได้ทั้งนั้น นี่ธรรมะมันอยู่ที่นี่ เอามาสร้างปัญญาให้เกิดขึ้นได้ที่นี่ ส่วนการอ่านตำรา ฟังครูบาอาจารย์นั้นเป็นเครื่องช่วยสนับสนุนให้เรารู้และเข้าใจเท่านั้นเอง หรือเป็นผู้ชี้ว่าต้องดูตรงนี้ พิจารณาตรงนี้ ไม่ได้ให้พิจารณาที่อื่น คิดไปในที่อื่น ไม่ให้ดูที่อื่น มาดูตรงนี้ ฉะนั้น เอากายนี้แหละมาเรียนกัน เรียนรู้จบในกายนี้ก็เป็นอันว่าจบคำสอนของพระพุทธเจ้า คำสอนของพระพุทธเจ้าอยู่ในกายทั้งหมด ฉะนั้นเราพากันมาศึกษาดูวันหนึ่งๆ เราก็จับเอาส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายมาสักชิ้นขึ้นมาพิจารณา เช่นลมหายใจก็ได้ หรือแม้แต่เราจะมองในอีกแง่หนึ่งในแง่ของการเปลี่ยนแปลงของสังขารร่างกาย จะนึกคิดไปในเรื่องความที่เราจะต้องแก่ เจ็บ ตาย ต้องพลัดพรากจากกัน มันมองไปได้ทั้งนั้น มันมีอยู่ในกายนี้ทั้งนั้น แต่จิตเราไม่ได้คิดถึงเรื่องเหล่านี้เลย จิตไม่ได้มีโอกาสได้คิด เราสังเกตดูวันหนึ่งๆ จิตของเราเคยคิดเรื่องอย่างนี้สักกี่ครั้ง เคยคิดไหม ลมหายใจเข้าออก ถ้าจบลงแล้วจะเป็นอย่างไร เคยคิดไหมว่าเราแก่ขนาดไหน เราเจ็บขนาดไหน เราจะตายเมื่อไหร่ หรือส่วนของร่างกายเรามีกี่ชิ้น และเมื่อมันแยกออกจากกันแล้ว ความเป็นเราเป็นเขามันจะเป็นอย่างไร จิตเราเคยคิดเวลาคิดถึงเรื่องเหล่านี้บ้างไหม ดูแล้วไม่มีโอกาสได้คิดเท่าไหร่ ที่คิดนั้น มักจะคิดเพื่อที่จะทำให้เกิดการยึก การถือ การแบก การหามอยู่อย่างนั้นแหละ ในที่สุดปัญญาก็ไม่เกิด ลองกำหนดดูว่าวันหนึ่งเราเคยเอาเรื่องในตัวเราไปคิดไหม ไม่ค่อยมีหรอก ถ้าเอาไปก็มีคำว่าเรา คำว่าเขาเท่านั้นเอง คิดก็คำว่าเรา เขา ทันที อันนั้นเขาอันนี้เรา อันนั้นของเขา อันนี้ของเรา คิดถึงลูกหลานบ้านช่อง เคยสังเกตไหม จิตของคนเราก็มีเพียงเท่านี้ วันหนึ่งๆ ก็วกไปวนมาอยู่แต่เพียงเท่านี้ วกวนอยู่กับคำว่าเราเขานี่แหละนี่คือจิตที่คิดโดยปกติคิดอย่างนี้ และในที่สุดก็มองไม่เห็น ปัญญาก็ไม่เกิด เพราะฉะนั้น ลองพากันทำจิตให้สงบให้รวม แล้วลองพยายามเอาส่วนของร่างกายของเราส่วนใดส่วนหนึ่งมาคิด ถ้าคิดบ่อยๆ เข้าปัญญาก็จะเกิด พอปัญญาเกิดแล้วมันจะไม่เข้าไปยึดเลย ไปยึดมันทำไม ไม่มีประโยชน์อะไร ไม่มีสาระแก่นสารอะไร และก็รู้ชัดอีกด้วยว่าถ้ายึดแล้วมันก็เป็นทุกข์ เราพิจารณาดูก็ได้ ไม่ว่าอะไรทั้งสิ้นถ้าเราไปยึดไว้ เดี๋ยวสิ่งที่ตามมาก็คือทุกข์ ถ้าไปยึดว่าตัวเรา เขาว่าเรา เขาดูถูกเรา เขาเหยียดหยามเรา เขาทำของเราเสีย นั้นเป็นลูกของเรา นั้นญาติของเรา เราต้องเป็นห่วง ทำให้จิตของเราก็อยู่แค่นั้น เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว เมื่อไรจิตเราจะรู้ตามความเป็นจริงได้เล่า มันรู้ไม่ได้ เพราะจิตมัวแต่ไปคำว่าเขาว่าเราอยู่ตลอดเวลา พยายามตั้งสติให้ดี เวลาฟังพยายามทำความเข้าใจ พยายามรับรู้ บางคนนั่งไปสัปหงกไปหลับไป เลยไม่รู้ว่าพูดเรื่องอะไร ปัญญาเลยไม่มี ลักษณะนี้มันหลง จิตมันมืดบอด เพราะฉะนั้น พวกเรานักปฏิบัติธรรมเมื่อเราฝึกจิตจนสมควรแล้ว พยายามหัดนึกหัดคิดบ่อยๆ ไม่ต้องเอาเรื่องอื่นมาคิด เอาแต่เรื่องภายในตัวของเรานี่มาคิดนั่นแหละ จิตของเราก็จะมีปัญญา คือมีสติปัญญาขึ้นมา พอมีปัญญาขึ้นมาแล้วมันก็เห็นชัดเจน เห็นชัดเจนแล้วก็ไม่ต้องเสียเวลาไปนั่งทุกข์กังวลและแบกอะไรอีกคราวนี้ลองมานึกถึงตัวของเรา ความรู้สึกของเรามันเหมือนกับตัวเราขยายเต็มโลกอยู่คนเดียว ความรู้สึกมันมักจะเป็นอย่างนั้น ความเป็นจริงแล้ว ตัวเราแต่ละคนๆ ไม่มีอะไรมากเลย และมันก็ไม่ได้ใหญ่โตอะไรมากมายเลย มองดูตามความเป็นจริงก็มีความยาว ๑ วา ความกว้าง ๑ ศอกและหนา ๑ คืบเท่านั้นเอง นี่คืออาณาจักรของเราแต่ละคน แต่ความรู้สึกของเรามันไม่ใช่เพียงเท่านี้ ความรู้สึกที่ยึดมั่นถือมั่นนั้นมันขยายออกไป เห็นไหมความรู้สึกนี่มันสร้างอาณาจักรขึ้นมา มันคล้ายๆ โลกนี้ทั้งโลกเราแบกอยู่คนเดียว เราคนเดียว เรายิ่งใหญ่อยุ่คนเดียว นี่คือความรู้สึกของเราแต่ละคน เมื่อเป็นอย่างนั้นแล้ว จิตมันจะรู้ความเป็นจริงไม่ได้ ความเป็นจริงมันไม่มีอะไร ลองฝืนความรู้สึกของเรา แล้วมองดูให้มันชัดเจน มันมีอะไร ไม่มีอะไรมาก ก็มีลมหายใจเข้าออก ธาตุ ๔ ดิน น้ำ ไฟ ลม ก็เท่านั้นเอง แยกอีกอย่างหนึ่งก็มีรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็เท่านั้น ความรู้สึกเหล่านี้มันเคยเกิดขึ้นภายในจิตเราไหมในส่วนลึกๆ น่ะ มันไม่เคยมี มันไม่มีหรอก แม้แต่เรานึกเราคิด ก็นึกไปตามสัญญาเท่านั้น ไม่ใฃ่ความรู้สึกที่เกิดจากความเข้าใจหรือความเห็นจากจิตตราบใดจิตมันยังหลงอยู่อย่างนี้ มันก็มองไม่เห็นหรอก แต่ถ้าเราสร้างความรู้สึกอย่างนี้บ่อยๆ มองบ่อยๆ ในที่สุดพอจิตมีปัญญามันก็ไม่มีอะไร ตัวเราก็ธาตุ ๔ ดิน น้ำ ไฟ ลม ตัวคนอื่นก็ธาตุ ๔ ดิน น้ำ ไฟ ลม แม้แต่สัตว์เองมันก็มีธาตุ ๔ ดิน น้ำ ไฟ ลม เหมือนกัน ต้นไม้อาจแตกต่างจากมนุษย์และสัตว์บ้าง แต่เมื่อมันถึงกาลถึงเวลามันก็แตกสลายไปเหมือนกัน มันไม่มีอะไรที่จีรังยั่งยืนเลย ถ้าเราลองสร้างความรู้สึกให้มันธรรมดาๆ ให้มันง่ายๆ อย่างนี้ เวลาเรานึกเราคิดมันก็ธรรมดาๆ อย่างที่เราสวดกันว่า เรามีความตายเป็นธรรมดา ท่านก็บอกแล้วว่ามันเป็นธรรมดา มันไม่มีอะไร มันไม่ใช่เรื่องพิเศษอะไรเลย ความแก่มันก็ธรรมดาๆ ความเจ็บ ความตาย ก็ธรรมดา แต่ความรู้สึกของคนเรานี้ไม่ใช่ธรรมดา มันสร้างความรู้สึกว่าไม่ใช่ธรรมดาแล้ว ถ้าแก่ไม่ใช่ธรรมดาแล้ว ถ้าเจ็บก็ไม่ใช่ธรรมดาอีก ยิ่งเรื่องตายด้วยแล้วยิ่งไม่ใช่ธรรมดาแล้ว ที่ไม่ใช่เรื่องธรรมดานี้ จิตของเราต่างหาก จิตมันไม่รู้ จึงได้สร้างเรื่องขึ้นมาว่าไม่ใช่ธรรมดาแล้ว อย่างเช่นเราเจ็บปวด เวลานั่งสมาธิ เมื่อนั่งนานๆ มันก็เจ็บปวด ก็บอกว่าไม่น่าจะนั่งนานเพราะมันทำให้เจ็บปวดมาก ก็มันเป็นเรื่องธรรมดาๆ นั่นเอง เมื่อเกิดมาแล้วมันก็หนีไม่พ้นเรื่องเหล่านี้ ถ้าไม่อยากให้มีก็คือต้องไม่ตาย ไม่เกิด เมื่อใดจิตของเราจะคิดเรื่องนี้ว่าเป็นเรื่องธรรมดาได้ เมื่อจิตคิดเป็นเรื่องธรรมดาแล้ว ไม่ต้องมาทุกข์กังวลเรื่องอะไรเลย ที่เรากังวลเพราะเราคิดว่ามันไม่ธรรมดา คิดว่าเป็นเรื่องผิดปกติเสีย เป็นเรื่อ งพิเศษขึ้นมา ใครสร้างความพิเศษขึ้นก็คือใจของเราเอง ใจที่มันไม่รุ้พยายามสร้างความพิเศษขึ้นมา เราก็เลยไปยึดไปติดอยู่อย่างนั้น นี่มนุษย์เราที่อยู่ในโลกมันเป็นอย่างนี้ พอเราสร้างเรื่องไม่ธรรมดาขึ้น มันเกิดเจ็บป่วยขึ้นมาก็ไปกังวลกับมัน ทุกข์อยู่กับมัน ความเป็นจริงแล้วมันก็เป็นเรื่องธรรมดา เรารักษาไป รักษาได้ก็หาย มันไม่หายมันก็ธรรมดาของมัน นี่ถ้าหากว่าจิตเรารู้ มันจะมองอะไรก็จะมองเป็นเรื่องธรรมดาๆ ถ้าหากจิตมันไม่รู้ก็จะมองเป็นจริงจัง มองเป็นเรื่องพิเศษ เป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่ เหมือนที่เรามองในตัวเราที่มีความยิ่งใหญ่มาก ยิ่งใหญ่นั่นแหละคือความไม่รู้ ทิฏฐิมานะ การยึดการถืออยู่ในนั้นแหละ ถ้าใครมีมากเท่าไหร มันสร้าง มันพองเต็มโลกเลย ถ้าเราลดลงๆ จะแฟบไม่มีอะไร ก็จบลงทั้งหมดนี้เป็นวิธีการสร้างปัญญาและความรู้ให้เกิดขึ้น แต่การที่เราจะสร้างความรู้ ความฉลาดให้เกิดขึ้นได้ดีที่สุดก็คือ เราต้องฝึกจิตของเราให้สงบก่อน ให้สงบไปด้วยและก็คิดไปด้วย ถ้าจิตไม่สงบแล้วก็จะไม่เห็น เพราะฉะนั้น ในสมถกัมมัฏฐานทั้งหมดที่กล่าวมาโดยกว้างๆ ในวันนี้ จุดประสงค์ก็เพื่อทำให้จิตของเราสงบก่อน เมื่อมันจบแล้วก็พยายามใช้ความสงบนั้นคิดให้เกิดปัญญา สิ่งที่จะให้เกิดปัญญาก็ไม่ต้องไปหาที่ไหน อาศัยกายเรานี่แหละ เอาส่วนไหนก็ได้ เกิดปัญญาทั้งนั้นการปฏิบัตะรรมนั้นมี ๒ จุด จุดหนึ่งคือทำจิตให้สงบ เรียกว่า สมถกัมมัฏฐาน อีกจุดหนึ่งคือใช้ให้เกิดปัญญา เรียกว่า วิปัสสนากัมมัฏฐาน การใช้ปัญญานั้น เราเอาอะไรมาเป็นอารมณ์และเป็นอุปกรณ์ในการพิจารณา ก็เอาตัวเรานี้แหละเป็นเครื่องมืออุปกรณ์ เช่นลมหายใจเข้าออก ก็นำไปคิดบ่อยๆ ทำบ่อยๆ เวลานอนก็ลองสมมติว่าถ้าเราหมดลมหายใจแล้วจะเป็นอย่างไร ถ้าไม่กล้านึก กลัวมันจะหมดจริงๆ บางคนไม่กล้านึก ดูซิขนาดนั้น ถ้าเรานึกแล้วจิตมันจะดับหรืออาจจะหยุดเลยเลิกคิดทันที ถ้าหมดลมหายใจแล้วเราจะเป็นอย่างไร เราลุกขึ้นมาไม่ได้อีกแล้วแล้วใครจะเลี้ยงลูกหลานเราล่ะ แล้วลุกไปเลี้ยงได้ไหม ถ้าขืนลุกไปเขาก็ไม่ได้เราเลี้ยงแล้ว เขาก็ไล่ออก นี่ให้เรานึกคิดดูบ้าง มิฉะนั้น เราก็ลองพิจารณาดูก็เห็นว่าตัวเราตัวเขา แล้วทำไมมันถึงได้พองโตคับโลก ลองคิดให้มันลีบลงมา ในที่สุดจะเหลืออะไร ก็แค่ความยาว ๑ วา ความกว้าง ๑ ศอก ความหนา ๑ คืบเท่านี้แหละ นี่ตัวเราก็เพียงเท่านี้ ไม่ใหญ่ไม่โตไม่พองอะไรหรอก นี่ก็คือเป็นหัดทำความรู้สึกของเราให้เล็ก อย่าทำความรู้สึกให้ใหญ่โต ถ้ามันใหญ่แล้วมันก็พองทันที ทิฏฐิมานะก็จะพองขึ้นด้วย ทำตัวให้เล็กๆ ธรรมดาๆ ไม่มีใครวิเศษวิโสมากกว่ากัน วิเศษขนาดไหนก็แล้วแต่ มันก็เหมือนกันทั้งนั้น พอพูดถึงจุดนี้ ทำให้นึกถึงที่เขาเขียนไว้ที่ท้ายรถว่า “เอ็งจะใหญ่แค่ไหน ในที่สุดเอ็งก็ต้องเล็กกว่าโลง” มันทำให้เกิดความรู้สึกเป็นคติ ถ้าขืนใหญ่กว่าโลง มันก็ใส่โลงไม่ได้ ฉะนั้น จะใหญ่ขนาดไหนก็คือเล็กกว่าโลง นี่พยายามสร้างความรู้สึกอย่างนี้ สร้างความรู้สึกของเราให้จิตเรามองเห็นเป็นเรื่องธรรมดา ในที่สุดความรู้สึกของเราก็จะค่อยๆ แฟบลง ทิฏฐิมานะก็จะค่อยๆ ลดน้อยลงตามลำดับ |